แหล่งที่พบแอสตาแซนทิน ในธรรมชาติ พบได้ในปลาทะเล และสาหร่ายทะเลสีแดงสายพันธุ์ Haematococcus Pluvialis และสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราน์ กุ้ง และกุ้งลอปสเตอร์ แอสตาแซนทินเป็นสารสีแดงที่พบในปลาแซลมอน ไข่ปลาคาเวียร์ เปลือกกุ้ง-ปู ร่างกายไม่สามารถสร้างสารชนิดนี้ได้ เราจะได้รับสารชนิดนี้จากอาหารที่รับประทานเข้าไปในปริมาณที่น้อยมาก เช่น ปลาแซลมอน 200 กรัม จะมีแอสตาแซนทิน เพียง 1 มิลลิกรัม
แอสตาแซนทิน เป็นส่วนหนึ่งในอาหารของมนุษย์มายาวนานหลายพันปี มีความปลอดภัยสูง มีการทดลองทางคลินิก โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองรับประทานอาหารที่ผลิตจาก Microalgae (สาหร่ายขนาดเล็ก) ที่อุดมไปด้วยแอสตาแซนทิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆ และจากการ ทดสอบ Full Acute & Sub Chronic, Ames Test & Gene Toxicity และการค้น หาเอกสารทางวิชาการทั่วโลกนั้นไม่พบรายงานที่มีผลข้างเคียงในทางลบ และจากข้อมูล มีการนำสาหร่ายทะเลสีแดงสายพันธุ์ Haematococcus Pluvialis ซึ่งมีสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) อยู่เป็นจำนวนมาก นำมาสกัดเป็นอาหารเสริมและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่แถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 และสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) มีการวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในตลาดตั้งแต่ปีค.ศ.1999 จนถึงปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง
Nishida Y.et.al, Quenching Acitivities of Common Hydrophillic and Lipophillic Antioxidants against Singlet Oxygen Using Chemiluminescence Detection System. Carotenoid Science 11: 16-20 (2007)
Miki, W., Biological functions and activities of animal carotenoids. Pure and Appl.Chem 1991 ; 63:141-6
Shimizu, N., et al., Carotenoids as singlet oxygen quenchers in marine organisms. Fisheries Sci. 1996; 62: 134-7
Fuji Chemical Industry Co., Ltd., Outsourced test by Collaborative Labs, Setauket, NY 2001
Yamashita,(2006) The Effects of Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Carotenoid Science 10:91-95
Nagaki et al., (2006) .The supplementation effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia.J.Clin. Therap.Med.,22(1):41-54.
Sawaki,K.et al.(2002) Sports performance benefits from taking natural astaxanthin characterized by visual activity and muscle fatigue improvements in humans.Journal of Clinical Therapeutics & Medicine 18(9):73-88.
Kupcinskas et al., Efficacy of the antioxidant astaxanthin in the treatment of functional dyspepsia in patients with or without Helicobacter pylori gastritis: a propective, randomized ,double blind, and placebo controlled study .Eur.J.Gastroent and Hepat.,(In Press).
Hiroshige Itakura, Astaxanthin Defends and Subdues Active Oxygen, Heart publishing co.,ltd, 21.