Support
heahtyibk
0875770246
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

แอสต้าแซนทิน (Astaxanthin)มากกว่าวิตามินซี 6000 เท่า

boom_murata@hotmail.com | 10-02-2557 | เปิดดู 2311 | ความคิดเห็น 0

 แอสต้าแซนทิน (Astaxanthin)

แอสต้าแซนทิน เป็นสารอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) เป็นสารอาหารที่โด่งดังด้วยผลวิจัยทางการแพทย์มากมาย เนื่องด้วยสูตรโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ของ แอสตาแซนธิน ในการปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งแตกต่างกับ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และ สารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ที่แค่ช่วยปกป้องแค่ภายในหรือภายนอกของเยื่อหุ้มเซลล์ พบว่า แอสตาแซนธิน มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ได้ทั้งภายในและภายนอก ดังนั้น จึงเหมือนกับว่าแอสตาแซนตินสามารถปกป้องเซลล์ได้ครอบคลุมมากกว่า

 

คุณสมบัติพิเศษของแอสตาแซนทิน คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง และจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระกับสารอาหารชนิดต่างๆ ดังนี้

มากกว่าวิตามินอี แอลฟา โทโคฟีรอล 550 เท่า

มากกว่าเบต้า แคโรทีน 40 เท่า

มากว่าเมล็ดองุ่นสกัด 17 เท่า

มากกว่าวิตามินซี 6000 เท่า

มากกว่า โคเอนไซม์คิวเท็น 800 เท่า

มากกว่าสารในชาเขียว 550 เท่า

มากกว่า แอลฟา ไลโปอิก เอซิด 75 เท่า

 

แอสต้าแซนทิน ยังมีคุณสมบัติในการปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์จากการทำลาย ของอนุมูลอิสระ ปกป้อง DNA หรือสารพันธุกรรมในเซลล์จากการถูกทำลาย ซึ่งป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ เป็นการป้องกันมะเร็งได้ ป้องกันเซลล์ผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดด และมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน แอสตาแซนทินสามารถใช้ร่วมกับสารสกัดเมล็ดองุ่นในการป้องกันเส้นเลือดเสื่อม และเส้นเลือดขอดได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของแอสต้าแซนทิน

ป้องกัน และฟื้นฟูจอตาที่เสื่อม ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งจอประสาทตาจะเป็นจุดรับภาพของลูกตา ช่วยยับยั้งการสะสมของกรดในดวงตา อันเป็นสาเหตุให้ดวงตาอ่อนล้า ช่วยป้องกันดวงตาจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต

ป้องกันการเสื่อมของไต และหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน

ป้องกัน และบำบัดในผู้ป่วยความจำเสื่อม และพาร์กินสัน

ปรับสมดุลของโคเลสเตอรอล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง LDL ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลตัวร้าย ช่วยให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นมากขึ้น ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

ลดภาวะอักเสบในร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยภูมิแพ้ตัวเอง ภูมิต้านทานต่ำ และการติดเชื้อไวรัสเรื้อรัง เช่น กลุ่มผู้ป่วย AIDS ผู้ติดเชื้อไวรัสงูสวัด และเริม

ทำให้สเปิร์มแข็งแรงขึ้น

ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อมีสุขภาพดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อมีความทนทานมากขึ้น

ปกป้องโครงสร้างผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต ช่วย กระชับรูขุมขน ลดเลือนริ้วรอย

ปรับสมดุลความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ

ช่วยบรรเทาอาการต่อมลูกหมากอักเสบหรือต่อมลูกหมากโต และมะเร็งต่อมลูก หมาก

ช่วยการซ่อมแซม และฟื้นฟูเซลล์สมองและหลอดเลือดในผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก หรือผู้ป่วยที่ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง

 

แหล่งที่พบแอสตาแซนทิน ในธรรมชาติ พบได้ในปลาทะเล และสาหร่ายทะเลสีแดงสายพันธุ์ Haematococcus Pluvialis และสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราน์ กุ้ง และกุ้งลอปสเตอร์ แอสตาแซนทินเป็นสารสีแดงที่พบในปลาแซลมอน ไข่ปลาคาเวียร์ เปลือกกุ้ง-ปู ร่างกายไม่สามารถสร้างสารชนิดนี้ได้ เราจะได้รับสารชนิดนี้จากอาหารที่รับประทานเข้าไปในปริมาณที่น้อยมาก เช่น ปลาแซลมอน 200 กรัม จะมีแอสตาแซนทิน เพียง 1 มิลลิกรัม

แอสตาแซนทิน เป็นส่วนหนึ่งในอาหารของมนุษย์มายาวนานหลายพันปี มีความปลอดภัยสูง มีการทดลองทางคลินิก โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองรับประทานอาหารที่ผลิตจาก Microalgae (สาหร่ายขนาดเล็ก) ที่อุดมไปด้วยแอสตาแซนทิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆ และจากการ ทดสอบ Full Acute & Sub Chronic, Ames Test & Gene Toxicity และการค้น หาเอกสารทางวิชาการทั่วโลกนั้นไม่พบรายงานที่มีผลข้างเคียงในทางลบ และจากข้อมูล มีการนำสาหร่ายทะเลสีแดงสายพันธุ์ Haematococcus Pluvialis ซึ่งมีสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) อยู่เป็นจำนวนมาก นำมาสกัดเป็นอาหารเสริมและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่แถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 และสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) มีการวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในตลาดตั้งแต่ปีค.ศ.1999 จนถึงปัจจุบัน

 

เอกสารอ้างอิง

Nishida Y.et.al, Quenching Acitivities of Common Hydrophillic and Lipophillic Antioxidants against Singlet Oxygen Using Chemiluminescence Detection System. Carotenoid Science 11: 16-20 (2007)

Miki, W., Biological functions and activities of animal carotenoids. Pure and Appl.Chem 1991 ; 63:141-6

Shimizu, N., et al., Carotenoids as singlet oxygen quenchers in marine organisms. Fisheries Sci. 1996; 62: 134-7

Fuji Chemical Industry Co., Ltd., Outsourced test by Collaborative Labs, Setauket, NY 2001

Yamashita,(2006) The Effects of Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Carotenoid Science 10:91-95

Nagaki et al., (2006) .The supplementation effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia.J.Clin. Therap.Med.,22(1):41-54.

Sawaki,K.et al.(2002) Sports performance benefits from taking natural astaxanthin characterized by visual activity and muscle fatigue improvements in humans.Journal of Clinical Therapeutics & Medicine 18(9):73-88.

Kupcinskas et al., Efficacy of the antioxidant astaxanthin in the treatment of functional dyspepsia in patients with or without Helicobacter pylori gastritis: a propective, randomized ,double blind, and placebo controlled study .Eur.J.Gastroent and Hepat.,(In Press).

Hiroshige Itakura, Astaxanthin Defends and Subdues Active Oxygen, Heart publishing co.,ltd, 21.

 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri May 03 14:42:08 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0